ธุรกิจสร้างฟอร์มยืนยันตัวตนได้เอง โดยไม่ต้องเขียนโค้ด (No-Code Verification and Compliance Automation)

ธุรกิจสร้างฟอร์มยืนยันตัวตนได้เอง โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

ยกระดับความปลอดภัยได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

ในปัจจุบันที่ดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในด้านของความปลอดภัยมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไม่ว่าก่อนจะเริ่มต้นทำธุรกรรมใดๆ หรือการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ นั้น ผู้ใช้บริการก็คงหนีไม่พ้นกับการต้องยืนยันตัวตน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นในด้านของปลอดภัยที่ได้รับมสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ  ธุรกิจและองค์กรต่างก็ต้องการวิธีการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย และสำหรับธุรกิจ Fintech หรือ Non-bank ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโซลูชันในการยืนยันตัวตนที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ แต่ก็ขาดแคลนทรัพยากรบุคคลอย่าง Developer ในการพัฒนาโซลูชัน รวมถึงข้อจำกัดในด้านของเวลาและค่าใช้จ่าย 

แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะทุกวันนี้ก็ได้แพลตฟอร์ม No-code หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยจัดการเรื่องยากให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยที่คุณสามารถสร้างโปรแกรมหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเองในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเลย ซึ่งหนึ่งในแพลตฟอร์มสำหรับการยืนยันตัวตนดังกล่าวคือ UpPass จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการสร้างฟอร์มยืนยันตัวตนได้ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันตัวตนผ่านบัตรประชาชน (ID Verification), การยืนยันตัวตนผ่านอีเมล (Email Verification) หรือการยืนยันตัวตนด้วย OTP (Mobile Verification)

6 เทรนด์ No-code ที่น่าจับตามองในปี 2566

จากการสำรวจของ Gartner คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 70% ของแอปพลิเคชันจะถูกสร้างและพัฒนาขึ้นจากการใช้เครื่องมือ No-Code และ Low-code ซึ่งผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จะสามารถเรียนรู้วิธีสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโค้ดหรือไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาในสาขา Computer Science ซึ่งแนวโน้มในปี 2566 สำหรับอุตสาหกรรม No-Code ได้แก่

1. No-code และ AI

แนวโน้มแรกที่น่าสนใจ คือ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีและ AI ทำให้แพลตฟอร์ม No-Code นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่การสร้างอวาตาร์เสมือนจริง ไปจนถึงการเขียนเนื้อหา อย่าง Open AI หรือ Notion AI  ที่สามารถเป็นผู้ช่วยด้านการเขียน ระดมสมอง แก้ไข สรุป การสร้างโค้ดและอื่นๆ อีกมากมาย 

2. แพลตฟอร์มสำเร็จรูปสำหรับ citizen developers

แพลตฟอร์ม No-Code มีอัตราเติบที่ค่อนข้างสูงขึ้นถึง 30.2% ในปี 2566 ซึ่งเร็วกว่าแพลตฟอร์ม Low-Code เนื่องจากทุกคนสามารถเรียนรู้ได้อย่างอัตโนมัติและเพิ่มความคล่องตัวสำหรับการใช้งานให้กับ workflow ด้วยการสร้างแบบฟอร์มบนเว็บ การ integrate ระบบซอฟต์แวร์หลายระบบเข้าด้วยกันและการแสดงข้อมูลเป็นภาพ ซึ่งเหมาะสำหรับ Citizen Developer หรือผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในการทำงาน Programming มาก่อน แต่ผู้ใช้งานก็สามารถดำเนินการสร้างระบบผ่านแพลตฟอร์ม No-Code หรือ Low Code ได้ เนื่องจากมีหลักการทำงานที่เข้าใจง่ายนั่นเอง ส่งผลดีต่อโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในองค์กร

3. แพลตฟอร์ม No-code ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ

แนวโน้มนี้คาดว่าจะดำเนินต่อไปในปี 2566 เนื่องจากองค์กรจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตระหนักถึงประโยชน์ของแพลตฟอร์ม No-Code ซึ่งนอกจากจะเห็นการพัฒนาที่เร็วชและความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยัง ใช้ต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่แล้วแพลตฟอร์ม No-Code มักจะใช้สำหรับสร้างองค์กรขนาดเล็กหรือส่วนบุคคล แต่เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น องค์กรต่างๆ ในระดับใหญ่ขึ้นก็เริ่มนำแพลตฟอร์ม No-Code มาใช้สำหรับการสร้างแอปพลิเคชันและดำเนินงานภายในองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ

4. ความปลอดภัยของข้อมูล (Security)

เนื่องจากมีการนำเครื่องมือ No-Code และ Low-Code มาใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้น ความปลอดภัยของข้อมูลจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ผู้พัฒนาและให้บริการในด้านแพลตฟอร์ม No-code  จะต้องสร้างการกำกับดูแลและการรับรองคุณภาพซึ่งถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อจัดการความปลอดภัยของข้อมูลของแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้น

5. เพิ่มความสามารถในการปรับขนาด (Focus on scalability)

ในอนาคตเครื่องมือ No-Code จะถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นและสามารถรองรับการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานจำนวนข้อมูลที่ถูกจัดการ และการเปลี่ยนแปลงของฟีเจอร์ต่างๆ ได้ตามต้องการมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วในปัจจุบันแพลตฟอร์ม No-Code ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาสำหรับการใช้งานภายในองค์กรขนาดเล็ก ที่มีระดับผู้ใช้บริการจำนวนหนึ่ง แต่ในอนาคตเครื่องมือ No-Code จะถูกมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการขยายขนาดและถูกใช้ในระดับองค์กรขั้นสูง เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรมากขึ้น และช่วยให้กระบวนการใช้งานและปรับขนาดเป็นไปอย่างอัตโนมัติ  

6. การเขียนโค้ดแบบไฮบริด (Hybrid No-Code)

ในปี 2566 จะเป็นปีที่เห็นการเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์ม No-Code, Low-code  รวมถึงซอฟต์แวร์ Open Source ที่ผู้ใช้งานสามารถแก้ไข ดัดแปลง และเผยแพร่ ได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้

ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้จะช่วยให้ developer สามารถใช้ทักษะการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิมเพื่อสร้างส่วนประกอบและใช้ประโยชน์จากความเรียบง่ายและสะดวกในการใช้งานของแพลตฟอร์ม No-code  integrate เข้ากับโค้ดหรือ API ที่กำหนดเองได้ เปรียบเสมือนเป็นการสร้างโค้ดแบบ Hybrid ซึ่งสามารถดึงดูด Developer ที่กำลังมองหาวิธีสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลามากขึ้น โดยไม่ต้องสูญเสียความยืดหยุ่น 

จะเห็นได้ว่าในอนาคตแพลตฟอร์ม No-Code ถือเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น และอาจจะเติบโตอย่างรวดเร็วต่อไปในปี 2566 สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิภาพของธุรกิจได้อย่างมากในระยะเวลาที่จำกัด ซึ่งทุกวันนี้ก็มีแพลตฟอร์ม No-Code ที่หลากหลายมากขึ้น โดย UpPass ก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม No-code ที่ช่วยผู้ใช้งานทุกคนสามารถสร้างแบบฟอร์มยืนยันตัวตนและกำหนด workflow ได้โดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ดใดๆ ก็สามารถ integrate เข้ากับระบบและเครื่องมือที่มีอยู่ของคุณได้   สะดวกและง่ายต่อการเรียนรู้ของธุรกิจ Fintech หรือ Non-bank ที่ขาดแคลน developer อีกทั้งยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างครอบคลุม ซึ่งทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการพัฒนาระบบได้ง่ายขึ้น  

การสร้างแบบฟอร์มยืนยันตัวตนด้วย UpPass นั้นไม่ซับซ้อนและสามารถทำได้ในไม่กี่ขั้นตอน ภายในไม่กี่ชั่วโมง หากคุณต้องการทำความรู้จัก UpPass ให้มากขึ้น เพื่อทำให้การสร้างฟอร์มยืนยันตัวตนที่ปลอดภัยและจับการฉ้อโกงได้เป็นเรื่องง่ายขึ้น อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://blog.uppass.io/fastest-way-to-integrate-e-kyc-for-fintechs/

ที่มา: https://www.blitznocode.comล

ต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับโซลูชันที่ช่วยลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจ สามารถติดต่อได้ที่ support@uppass.io หรือนัดหมายและขอชม Demo