การใช้ข้อมูลจากบิลสาธารณูปโภค (Utility Bill) และเบอร์โทรศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับ Non-banks และ Digital Lenders

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเงินอย่าง Fintech ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้มีผู้ให้บริการปล่อยสินเชื่อทางการเงินหรือระบบการกู้ยืมเงินในยุคใหม่ผ่าน Digital Lending หรือการปล่อยสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น เพราะเป็นบริการอย่างหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีรายได้น้อยหรือกลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินได้ให้เข้าถึงสินเชื่อได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม กระบวนการตรวจสอบและยืนยันตัวตนลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเป็นเสมือนประตูบานแรกที่ทำให้ธุรกิจได้รู้จักลูกค้า สำหรับข้อมูลที่ลูกค้าที่เข้ามาจำนวนมาก  ซึ่งกระบวนการตรวจสอบข้อมูลเป็นงานที่ใช้เวลานานและใช้แรงงานมาก แต่ก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการฉ้อโกงและการอนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกค้า แต่จะดีกว่าไหม? ถ้ากระบวนการเหล่านี้ ธุรกิจสามารถลดระยะเวลาในการพัฒนาให้เร็วขึ้นได้ และสามารถดึงข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) ได้จากใบแจ้งหนี้ค่าสาธารณูปโภค (Utility bill) และเบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่ง UpPass สามารถช่วยให้คุณรู้ข้อมูลต่างๆ จากลูกค้าได้ เพื่อทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการอนุมัติสินเชื่อ จำนวนเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยได้เร็วยิ่งขึ้น ผ่านการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการประเมินสินเชื่อได้ถึง 4  กรณี ได้แก่

ประโยชน์จากการดึงข้อมูลผ่านบิลสาธารณูปโภค (Utility Bill) และเบอร์โทรศัพท์

1. ประเมินความเสี่ยงทางเครดิต (Credit Risk Rating)

การประเมินความเสี่ยงทางเครดิต (Credit rating) หมายถึงความสามารถของแต่ละบุคคลในการชำระคืนเงินกู้และเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการให้กู้ยืม ซึ่งการดึงข้อมูลเชิงลึกจากบิลค่าสาธารณูปโภค (Utility Bill) และข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์มือถือสำหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) เป็นข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) อย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจและจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางเครดิตของแต่ละบุคคลได้ง่ายขึ้น  เช่น 

  • พฤติกรรมการใช้จ่าย: การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายหรือประวัติการชำระเงินค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าโทรศัพท์ที่ผ่านมาของลูกค้า เพื่อประเมินความสามารถในการชำระเงินอย่างสม่ำเสมอ ตรงเวลาหรือมีค่าใช้จ่ายค้างชำระหรือไม่ ข้อมูลนี้สามารถช่วยให้ผู้ให้กู้คาดการณ์พฤติกรรมการชำระเงินในอนาคตของลูกค้าและกำหนดความน่าเชื่อถือทางเครดิตของพวกเขาได้ นอกจากนี้ยังสามารถเช็คได้ว่าผู้ชำระเงินกับบิลค่าใช้จ่ายเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่
  • พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ : โดยสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ได้จาก
    • ราคาแพ็คเกจที่ใช้ ซึ่งบ่งบอกได้ถึงกำลังจ่าย จำนวนการใช้งานการโทร  รวมถึงเช็ก Volume ในการใช้อินเทอร์เน็ตในแต่ละเดือนของลูกค้าว่ามีมากน้อยแค่ไหน
    • พฤติกรรมการสื่อสารของลูกค้า อย่างเช่น ความถี่ในการโทรและส่งข้อความ ช่วงเวลาของการใช้งานโทรศัพท์ว่าใช้ช่วงกลางวันหรือกลางคืนเยอะเป็นพิเศษ ซึ่งบ่งบอกถึงพฤติกรรมและอาชีพการทำงาน
    • ประเภทของบุคคลที่สื่อสาร  จากการดูข้อมูลประวัติการใช้ การโทรเข้า-โทรออก sms ซึ่งอาจเป็นเบอร์ที่โทรมาซ้ำๆ และติดต่อมาจากสถาบันการเงินหรือจากคนที่โทรมาทวงหนี้ แล้วถ้าหากไม่รับสาย เป็นสิ่งที่ช่วยบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นอาจมีภาระหนี้

การเข้าถึงบิลค่าสาธารณูปโภค  (Utility Bill) และข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์เพื่อนำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงทางเครดิต จะต้องทำในกรอบของข้อมูลส่วนบุคคลและต้องมีการให้การยินยอมอย่างชัดเจน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องมีเครื่องมือในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้มาจากลูกค้านั้นถูกต้อง เป็นปัจจุบันและไม่มีการปลอมแปลง

2. คุณสมบัติของลูกค้า (Lead qualification)

ค่าสาธารณูปโภค (Utility Bill) และเบอร์โทรศัพท์มีประโยชน์สำหรับการระบุ ประเมินศักยภาพของลูกค้าและการตรวจสอบคุณสมบัติลูกค้าเป้าหมายได้  โดยเมื่อดึงข้อมูลเชิงลึกออกมาแล้ว จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น ระบุผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าในอนาคต และเพิ่มความสามารถวิเคราะห์ข้อมูล อย่างเช่น 

  • ฐานะและความมั่งคั่ง (Affluence) จากข้อมูลประชากรของกลุ่มลูกค้า รวมถึงอายุ รายได้ และสถานที่อยู่
  • พฤติกรรม (Lifestyle) ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถวิเคราะห์ได้จากเบอร์โทรศัพท์เป็นหลัก โดยสามารถเช็ก
    • ความสนใจ โดยวิเคราะห์ได้จากการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันหรือประเภทของเว็บไซต์ ว่าลูกค้าสนใจในหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ เช่น อาหาร ความสวยความงาน สุขภาพ เกม สัตวเลี้ยง ประกันภัย รวมถึงการศึกษาหาความรู้ต่างๆ ฯลฯ 
    • สถานที่ที่ชอบไป เบอร์โทรศัพท์ยังสามารถบ่งบอกได้ถึงสถานที่ต่างๆ ที่ลูกค้าชอบไป ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร โรงพยาบาล โรงแรม สวนสาธารณะ มหาวิทยาลัย ฯลฯ

3. การตรวจสอบการฉ้อโกง (Fraud Detection)

มิจฉาชีพมักจะใช้บิลค่าสาธารณูปโภค (Utility Bill) หรือเบอร์โทรศัพท์ปลอมจากที่ขโมยมาเพื่อสร้างตัวตนปลอมและดำเนินการขอสินเชื่อ ซึ่งเทคโนโลยีจาก UpPass สามารถ

  • ตรวจจับพฤติกรรมที่น่าสงสัย เช่น พิจารณาว่าบิลเป็นของจริงหรือมีการใช้งานตรงกับที่อยู่ปัจจุบันหรือไม่ รวมถึงการทำธุรกรรมหลายรายการจากสถานที่ต่างๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ  การเปิดซิมใหม่ (Recently SIM), การใช้เบอร์รีไซเคิล (Recycle SIM) หรือการใช้เบอร์ที่ไม่มีการใช้งานเป็นระยะเวลานาน (SIM no-use)  ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการฉ้อโกง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะต้องมีกระบวนการยืนยันตัวตนที่เข้มงวดขึ้นและควรมีมาตรการเพื่อป้องกันการฉ้อโกงประเภทนี้ นอกจากนี้การใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือในการตรวจจับการฉ้อโกงยังช่วยให้ธุรกิจสามารถส่งการแจ้งเตือนไปยังลูกค้าได้แบบเรียลไทม์

4. การตรวจสอบที่อยู่ (Address verification)

บิลค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าโทรศัพท์ ถือเป็นเอกสารทางการที่มีชื่อ ที่อยู่ และประวัติการชำระเงินของลูกค้าอยู่ ซึ่งธุรกิจสามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของที่อยู่ของลูกค้าได้ เนื่องจากการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางออนไลน์ เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นธุรกิจจึงต้องมั่นใจว่ามีข้อมูลที่มีอยู่นั้นถูกต้องและเป็นปัจจุบัน  ซึ่งหากลูกค้าให้ที่อยู่ผิดๆ เพื่อให้ตามตัวไม่ถูก ก็เสมือนเป็นการฉ้อโกงตัวตน ดังนั้น การใช้บิลค่าสาธารณูปโภค (Utility Bill) และเบอร์โทรศัพท์นั้นถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพในการระบุตำแหน่งที่ได้รับจากเบอร์โทรศัพท์ หรือดึงข้อมูลเชิงลึกในการยืนยันที่อยู่ (Address verification) รวมถึงป้องกันการฉ้อโกงตัวตน (Synthetic Fraud) ได้

ทำไมถึงต้องเป็น UpPass?

สร้างฟอร์มยืนยันตัวตนลูกค้าและเข้าถึงข้อมูล Utility Bill และ Mobile number ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีลูกค้าเข้ามาจำนวนมาก การพัฒนาระบบในการยืนยันตัวตนลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ใบหน้า อีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์ ก็เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานและใช้ทรัพยากรมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดในเรื่อง

  • ความปลอดภัย: ที่ต้องจัดการกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้า เช่น ข้อมูลในบัตรประชาชน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการติดต่อ อีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลูกค้าให้มานั้นถูกต้องและไม่ถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการฉ้อโกง 
  • การเข้าตรวจเช็คข้อมูล: UpPass ช่วยลดระยะเวลาในการเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาใช้ในการยืนยันความถูกต้อง และจับการฉ้อโกงของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเข้าเช็คกับข้อมูลของกรมการปกครอง หรือ ข้อมูล ชื่อและที่อยู่ใน บิลค่าโทรศัพท์ หรือ ค่าไฟฟ้า
  • ข้อจำกัดทางการพัฒนา: ธุรกิจอาจมีข้อจำกัดในด้าน Developer หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เชี่ยวชาญในการสร้างฟอร์มหรือโปรแกรมสำหรับตรวจสอบและยืนยันลูกค้าได้แบบเรียลไทม์หรือในเวลาอันสั้น

ซึ่งหากธุรกิจได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ No-Code สำหรับการสร้างฟอร์มในการยืนยันตัวตน (Verification Form) จะทำให้หมดความกังวลในปัญหาเหล่านี้

หากคุณสนใจ UpPass สามารถ ทดลองใช้ฟรี หรือ ขอชม demo 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ https://blog.uppass.io